ภาวะสายตาเสื่อม จากการใช้คอมฯ

  • Posted By : Happy Product

ภาวะสายตาเสื่อมจากการใช้คอมพิวเตอร์และมือถือนานๆ

ในยุคที่การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครๆอีกหลายคน โดยเฉพาะในการทำงานไม่ต่ำกว่าวันละ 6-8 ชั่วโมงหรือการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นแทบตลอดเวลา สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ปัญหาสุขภาพทางสายตา โดยเฉพาะ "ภาวะสายตาเสื่อม" จากการใช้งานคอมพิวเตอร์และมือถือนานๆจนเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม หรือปัญหาสุขภาพทางตาตามมาอีกมากมาย ซ฿่งสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพทางสายตาจะทำให้เรามีอาการผิดปกติในการมองเห็นหรือมีปัญหาสุขภาพดังนี้

อาการของภาวะสายตาเสื่อม

ภาวะสายตาเสื่อมที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่การเสื่อมของเซลล์จอประสาทตาภายในดวงตา เริ่มแรกอาจไม่มีอาการและอาการแสดงที่เด่นชัด แต่เมื่อมีการเสื่อมของจอประสารทตาที่มากขึ้นจะเริ่มสูญเสียการมองเห็น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติของการมองเห็นได้ดังนี้

  • มีอาการตามัว มองภาพไม่ชัด อ่านหนังสือหรือมองภาพไม่ชัดเจนเหมือนที่ผ่านมา
  • มีจุดดำ หรือ เวลามองภาพที่มีพื้นสีขาวจะเห็นจุดดำลอยตามสายตา
  • มองภาพบิดเบี้ยวหรือสัดส่วนผิดไปจากธรรมชาติ  เช่น เห็นกรอบประตูโค้ง ใบหน้าหรือรูปร่างบิดเบี้ยวต่างจากเดิม หรือมองเห็นแสงที่ผิดเพียนจากความเป็นจริง 

นอกจากนี้อาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดศีรษะเนื่องจากต้องใช้สายตามากกว่าปกติ และถ้าเกิดภาวะสายตาเสื่อมจากจอประสาทตาเสื่อมอาการก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามมา

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะสายตาเสื่อมเริ่มต้นจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสายตา และการใช้สายตาที่ผิดวิธี โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์หรือมือถือที่มีหน้าจอที่แสงสว่างอาจไม่เพียงพอ หรือ มีแสงจ้ามากเกินไป ร่วมกับ ระยะเวลาการใช้ที่ต่อเนื่องไม่มีการหยุดพักก็จะกระตุ้นให้เกิดภาวะสายตาเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากจอคอมพิวเตอร์มือถือ หรือแม้แต่อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีแสงสว่าง เช่น แทปเลต ทีวี จะมีแสงสีฟ้าที่สามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทะลุเข้าไปทำลายถึงจอประสาทตา และทำลายตั้งแต่กระจกตาไปจนถึงจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสว่างอื่นๆ และยิ่งเรามีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ที่สามารถกำเนิดแสงสีฟ้าอย่างต่อเนื่อง หรือ ใช้ในที่มืดนานๆ จะยิ่งมีอันตรายมากกว่าปกติหลายเท่า การป้องกันอันตรายจากแสงเหล่านี้จึงควรปฏิบัติดังนี้



การป้องกัน

การป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ แทปเลต หรือทีวีในปัจจุบันอาจทำได้ยาก แต่เราสามารถลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงของอันตรายนั้นได้ ด้วยการปฏิบัติดังนี้ 

  • ควบคุมและจัดการความสว่างของแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทปเลต หรือ ทีวีขณะใช้งานให้เหมาะสม เช่น ในเวลากลางคืนจะต้องปรับหน้าจอเป็นโหมดกลางคืนเพื่อลดปริมาณแสงที่เข้าไปทำลายดวงตา หรือ เปิดไฟเพื่อให้มีแสงสว่างรอบๆ บริเวณห้องป้องกันดวงตาเมื่อยล้าจากการรับแสงที่มากเกินไป
  • พักสายตาเป็นระยะ อย่างน้อยทุก 1-2  ชั่วโมงควรลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้สายตาได้พักจากแสงสีฟ้า โดยการพักสายตาทำได้ด้วยการหลับตาปรับสมดุลของการมองเห็น การมองไปที่กว้างๆ ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่สีเขียวจะช่วยปรับลดความเครียดในสมองได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดีกว่าสีอื่นๆ
  • การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หรือ สำหรับคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ ทำงานผ่านหน้าจอมือถือนานๆ ควรจะดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ดวงตาไม่แห้งและดวงตามีน้ำที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตน้ำตามาหล่อเลี้ยงดวงตาให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา
  • การปรับท่าทางในการนั่งให้ระยะการมองเห็นเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เช่น เราควรนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยประมาณ 50 ซม. หรือถ้าเป็นหน้าจกมือถือควรห่างจากสายตาอย่างน้อย 30  ซม.  จอภาพควรอยู่ระดับสายตาพอดี ไม่ควรนั่งมองจอคอมพิวเตอร์แล้วต้องก้มหรือต้องเงยหน้า ที่สำคัญระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือนานๆ ควรมีแว่นถนอมสายตาช่วยกรองแสงจากหน้าจอ หรือ จะเลือกใช้อุปกรณ์กรองแสงหน้าจอช่วยจะช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น
  • รับประทานอาหารที่ช่วยในการบำรุงสายตาทุกวัน โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ลูทีนและซีแซนทีน เบตาแคโรทีน อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่วนมากพบในผักและผลไม้หลากหลายสี เช่น ผักและผลไม้สีแดง สีส้ม สีเหลืองจะมีลูทีนและซีแซนทีนช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น


นอกจากการป้องกัน 5 ข้อนี้แล้ว เราควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสุขภาพทางสายตาอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มองเห็นไม่ชัด ตามัว ปวดเบ้าตา หรือ กล้ามเนื้อตาล้าเห็นภาพซ้อน อาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสายตาเสื่อม ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อประเมินอาการและรีบรักษาให้เร็วที่สุดต่อไป




อ้างอิง

1. https://www.rama.mahidol.ac.th/um/th/article/information/07162015-1601-th

2. https://www.rajavithi.go.th/